ปีนี้เป็นปีที่แม่ชวนอยู่บ้าน ด้วยเหตุที่ร่างกายยังแข็งแรงไม่เพียงพอ
เลยต้องเว้นการเวียนเทียนที่ธรรมสถานจุฬา
ซึ่งเป็นที่ๆ มักจะไปเป็นประจำทุกปี แถมชวนคนโน้นคนนี้ไปเสมอๆ
ไปวันอื่นแล้วกัน
วันนี้อยากหยิบยกเรื่องราวที่ไม่ค่อยจะเกี่ยวแต่ก็เกี่ยวกันมาเขียนไว้
โลกนิติ
จำไม่ได้ทั้งหมดหรอก แต่มีโคลงโลกนิติอยู่บทหนึ่งที่เกี่ยวกับเรื่องโลกธรรม
ห้ามเพลิงไว้อย่าให้ มีควัน
ห้ามสุริยแสงจันทร์ ส่องไซร้
ห้ามอายุให้หัน คืนเล่า
ห้ามดั่งนี้ไว้ได้ จึงห้ามนินทาฯ
โลกนิติ แปลว่า ระเบียบแบบแผนแห่งโลก เนื้อหาในโคลงโลกนิติมุ่งแสดงความจริงของโลก
และสัจธรรมของชีวิต ท่านว่าแต่งเพื่อสอนให้ผู้อ่านได้รู้ทันโลก เข้าใจในความเป็นไปของชีวิต
เป็นแม่แบบในการดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้องดีงาม
ในขณะเดียวกัน โลกธรรมก็เป็นของที่อยู่คู่โลก เป็นความจริงที่ทุกคนต้องเจอ
และต้องทำใจให้ได้ว่า "ตถตา มันเป็นเช่นนั้นเอง"
โลกธรรม 8
โลกเราประกอบไปด้วย ทวิภาค หรือความเป็นของสองสิ่งเหมือนเหรียญสองด้าน
มีขั้วบวกขั้วลบ มีดีมีชั่ว มีหยิน มีหยาง ฯลฯ
โลกธรรม 8 ที่ท่านสรุปเอาไว้มี 4 กลุ่มๆ ละ 2 ด้านในทิศทางตรงข้ามกัน
เกณฑ์การแบ่งที่ใช้ คือความพอใจและไม่พอใจ
ซึ่งจะเป็นชนวนก่อให้เกิดโลภะ (การอยากดึงเข้า) และโกธะ (การผลักออก)
กลุ่มที่ 1 ได้ลาภ-เสื่อมลาภ : มีได้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์โพดผลต่างๆ ก็อาจต้องมีวันนึงที่เสียสิ่งนั้นไปไม่ว่าจะด้วยการสิ้นอายุ หรือสูญหาย หรือถูกเบียดเบียน ฯลฯ
กลุ่มที่ 2 ได้ยศ-เสื่อมยศ : มีช่วงเวลาที่ได้รับการยอมรับมากมาย ก็อาจต้องมีวันหนึ่งหรือแม้แต่ชั่วขณะสั้นๆ ที่จะรู้สึกถึงการไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม จากคนรอบข้าง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลของความไม่เข้าใจ (ที่เป็นเหตุผลชั่วคราว) หรือเหตุผลของความไม่มีคุณสมบัติเพียงพอ ไม่ใช่ ไม่เหมาะกับสภาวะการยอมรับนั้น (เป็นเหตุผลชั่วคราวที่ยาวนาน)
กลุ่มที่ 3 สรรเสริญ-นินทา : ในเมื่อคนเราต่างความคิด การกระทำของเราจึงถูกตีความได้หลายแบบ คนที่รัก ชอบ ที่แม้ไม่ได้ประโยชน์แต่เพราะชอบเรา หรือแม้แต่ได้ประโยชน์จากการกระทำนั้น ก็มักจะสรรเสริญ ยกย่อง ยินดีด้วย ในขณะเดียวกัน คนที่เกลียดเราเป็นทุนเดิม เสียผลประโยชน์ หรือคิดว่าเสียผลประโยชน์จากการกระทำของเรา (ทั้งที่จริงๆ อาจไม่ได้เสีย) ก็มักจะมีการพูดถึงในทางไม่ดี ทำให้เกิดความเสียหายหรือเจ็บใจแก่เรา โดยที่บางทีเราก็ไม่ได้มีเจตนาอย่างที่เขาเข้าใจนั้น
(แต่มันคือ law of action-reaction นะเราว่า เคยนินทาใครไว้ ก็จะถูกคนอื่นนินทาให้บ้าง ถือว่าหายกันไป Fair play ^^...เอ๊ะ แต่สำหรับเราที่ต้องเจอเรื่องทำนองนี้ตั้งแต่ประถม หมายความว่าไงห๊าาาา)
(แต่มันคือ law of action-reaction นะเราว่า เคยนินทาใครไว้ ก็จะถูกคนอื่นนินทาให้บ้าง ถือว่าหายกันไป Fair play ^^...เอ๊ะ แต่สำหรับเราที่ต้องเจอเรื่องทำนองนี้ตั้งแต่ประถม หมายความว่าไงห๊าาาา)
กลุ่มที่ 4 สุข-ทุกข์ : ความสบายกาย สบายใจ ด้วยเหตุผลต่างๆ นานา เมื่อหมดเหตุ ความสบายกาย สบายใจเหล่านั้นก็หายไป การเข้าไปยึด ยื้ออยากให้มันอยู่กับเรานานๆ กลับก่อให้เกิดผลตรงข้าม คือก่อให้เกิดทุกข์
อย่าคิดว่าอะไรๆ จะอยู่กับเราไปตลอด เพราะ
"โลกนี้ไม่เคยมีอะไรที่เป็นของเรา"
โดยส่วนตัวแล้วเจ็บปวดมากๆ กับความจริงข้อนี้
แต่ก็ยิ่งโตยิ่งชัดว่ามันเป็นเรื่องจริงที่หนีไม่พ้น
ทางที่ดีคือ ยึด motto ของตัวเองไว้
Life is a moment, living is the way we choose to use that moment. : Kookio
สำหรับโคลงโลกนิติที่ชอบมากๆ คือบทนี้
ถึงจนทนสู้กัด กินเกลือ
อย่าเที่ยวแล่เนื้อเถือ พวกพ้อง
อดอยากเยี่ยงอย่างเสือ สงวนศักดิ์
โซก็เสาะใส่ท้อง หาเนื้อกินเองฯ
เหตุผลแรก เพราะมันเห็นภาพชัดสำหรับเด็กๆ...
นึกภาพตามสิ...เสือผอมโซๆ ตัวนึง ท้องกิ่ว
อุตส่าห์หาอาหารมาได้ แล้วก็ถูกเค้าแย่งไป และก็ไม่มีแรงจะไปแย่งกลับมา 555
และก็ไม่ได้รอที่จะแย่งอาหารจากชีตาห์ด้วยกัน หรือสัตว์ที่มีแรงน้อยกว่าต่อ
จริงๆ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นไม่บ่อยนักในธรรมชาตินะ
เสือที่ถูกแย่งอาหารเป็นประจำคือ เสือชีตาห์ (ตัวเมีย)
จนตอนนี้ จำนวนประชากรเสือชีตาห์ลดลงมากอย่างน่าใจหาย
นักวิจัยบอกว่า เป็นเพราะเสือชีตาห์ต้องใช้พลังงานมากมายในการวิ่งกวดให้เร็วในระยะสั้นๆ
ซึ่งมันกินแรงไปมาก (นึกถึงตอนวิ่งระยะสั้นดู)
สัตว์ที่แย่งคืออะไรรู้มะ สิงโต! เจ้าป่าเชียวนะ!
ปลอบใจตัวเองว่าไม่มีวาสนาแล้วกัน ชีตาห์เอ๋ย
(หยุด! ไม่มีวาสนาไม่ได้แปลว่าแย่หรือโง่จนไม่คู่ควร
หรือเป็นคำที่เอาไว้ "เหยียด" อีกฝ่าย
เพราะวาสนานี่เป็นเรื่อง relative
ของบางอย่างอาจเป็นเรื่องดีเลิศเลอสำหรับบางคน
แต่ในทางกลับกันของสิ่งนั้นกลับทำร้ายอีกคนก็ได้)
สำหรับชีตาห์ ถ้ากินเยอะอาจจะอ้วน วิ่งไม่ไหวก็ได้นะ เลยต้องถูกแย่งอาหารไป ^^
เราเข้าใจว่า ทรัพยากรบนโลกนี้มีอยู่อย่างจำกัด...
แม้เป็นต้นไม้ ดอกไม้ ก็ต้องแข่งกันงอกให้สูงที่สุด เพื่อรับแสงอาทิตย์ให้มากที่สุด
แม้เป็นสัตว์ ก็ต้องห้ำหั่นแย่งอาหาร แย่งที่อยู่ แย่งคู่ครอง
แม้เป็นคน ก็ต้องแย่งชิงปัจจัยสี่ แย่งชิงพื้นที่ทางความคิด แย่งชิงความรัก แย่งชิงอำนาจ
ทั้งหมดนี้เพื่อการคงไว้ซึ่ง "ตัวตน"
สำหรับเรา มันน่าเบื่อออกนะ
(อ๊ะ ยังไม่ใช่นิพพิทาหรอก อาจเป็นแค่ความเบื่อเพราะองุ่นเปรี้ยวก็ได้มั้ง)
ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เป็นสิ่งสำคัญต่อการมีชีวิต
"ศักดิ์ศรีกินไม่ได้ แต่การไม่เห็นแก่ศักดิ์ศรีนี่แหละ ทำให้ความชั่วร้ายซื้อไปได้"
จำได้ว่าเขียนไว้ตั้งแต่ปี 2013
แม้บางที อาจดูเหมือนเป็นการหลอกตัวเอง
แต่ในที่สุดแล้ว คนเราก็ต้องทำอย่างนี้...คนเราหลอกตัวเองอยู่ทุกวัน
ทุกเรื่องด้วย
เพื่อให้ใช้ชีวิตบนโลกใบนี้ได้...อย่างมีความสุข
เพราะอายตนะ 5 ของเรามันมีความสามารถจำกัด
(หาอ่านได้ในชีวิตนี้...ฟ้าลิขิตนะคร้าาา)
แถม สำหรับวันนี้ : บทสวดมนต์บทนี้ไม่ได้ชอบมากนัก แต่เป็นบทที่ฟังแล้วสบายใจที่สุด
อนุโมทนากับผู้จัดทำด้วยค่ะ
ขอบคุณกัลยาณมิตรทุกคนบนโลกใบนี้ ทั้งที่เราพบเจอแล้ว และยังไม่เจอ
สนิทและไม่สนิท เคยคุยกันและไม่เคยคุยกัน รู้จักกันและเหมือนจะไม่รู้จักกัน
เราโชคดีมากๆ ที่ได้อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม เจอแต่คนดีๆ คอยตักเตือนและอยู่ข้างๆ กันเสมอ
เครดิต : ขอบคุณข้อมูลต่างๆ จากผู้ที่เข้าไปอัพเดตใน Wikipedia และ www.kaweeclub.com
ภาพดอก cosmos จากดอยแม่ตะมาน เมื่อต้นปี 2014
สาระ : โคลงโลกนิติทั้งหมด
๏ ปลาร้าพันห่อด้วย ใบคา
ใบก็เหม็นคาวปลา คละคลุ้ง
คือคนหมู่ไปหา คบเพื่อน พาลนา
ได้แต่ร้ายร้ายฟุ้ง เฟื่องให้เสียพงศ์ฯ
๏ ใบพ้อพันห่อหุ้ม กฤษณา
หอมระรวยรสพา เพริศด้วย
คือคนเสพเสน่หา นักปราชญ์
ความสุขซาบฤาม้วย ดุจไม้กลิ่นหอมฯ
๏ ผลเดื่อเมื่อสุกไซร้ มีพรรณ
ภายนอกแดงดูฉัน ชาดป้าย
ภายในย่อมแมลงวัน หนอนบ่อน
ดุจดังคนใจร้าย นอกนั้นดูงามฯ
๏ ขนุนสุกสล้างแห่ง สาขา
ภายนอกเห็นหนามหนา หนั่นแท้
ภายในย่อมรสา เอมโอช
สาธุชนนั้นแล้ เลิศด้วยดวงใจฯ
๏ คนพาลผู้บาปแท้ ทุรจิต
ไปสู่หาบัณทิต ค่ำเช้า
ฟังธรรมอยู่เนืองนิตย์ บ่ทราบ ใจนา
คือจวักตักเข้า ห่อนรู้รสแกงฯ
๏ หมูเห็นสีหราชท้า ชวนรบ
กูสี่ตีนกูพบ ท่านไซร้
อย่ากลัวท่านอย่าหลบ หลีกจาก กูนา
ท่านสี่ตีนอย่าได้ วากเว้นวางหนีฯ
๏ สีหราชร้องว่าโอ้ พาลหมู
ทรชาติครั้นเห็นกู เกลียดใกล้
ฤามึงใคร่รบดนู มึงมาศ เองนา
กูเกลียดมึงกูให้ พ่ายแพ้ภัยตัวฯ
๏ กบเกิดในสระใต้ บัวบาน
ฤาห่อนรู้รสมาลย์ หนึ่งน้อย
ภุมราอยู่ไกลสถาน นับโยชน์ ก็ดี
บินโบกมาค้อยค้อย เกลือกเคล้าเสาวคนธ์ฯ
๏ ไม้ค้อมมีลูกน้อม นวยงาม
คือสัปบุรุษสอนตาม ง่ายแท้
ไม้ผุดังคนทราม สอนยาก
ดัดก็หักแหลกแล้ ห่อนรื้อโดยตามฯ
๏ นาคีมีพิษเพี้ยง สุริโย
เลื้อยบ่ทำเดโช แช่มช้า
พิษน้อยหยิ่งโยโส แมลงป่อง
ชูแต่หางเองอ้า อวดอ้างฤทธีฯ
๏ ความรู้ผู้ปราชญ์นั้น นักเรียน
ฝนทั่งเท่าเข็มเพียร ผ่ายหน้า
คนเกียจเกลียดหน่ายเวียน วนจิต
กลอุทกในตระกร้า เปี่ยมล้นฤามีฯ
๏ งาสารฤาห่อนเหี้ยน หดคืน
คำกล่าวสาธุชนยืน อย่างนั้น
ทุรชนกล่าวคำฝืน คำเล่า
หัวเต่ายาวแล้วสั้น เล่ห์ลิ้นทรชนฯ
๏ ห้ามเพลิงไว้อย่าให้ มีควัน
ห้ามสุริยแสงจันทร์ ส่องไซร้
ห้ามอายุให้หัน คืนเล่า
ห้ามดังนี้ไว้ได้ จึ่งห้ามนินทาฯ
๏ ภูเขาเหลือแหล่ล้วน ศิลา
หามณีจินดา ยากได้
ฝูงชนเกิดนานา ในโลก
หานักปราชญ์นั้นไซร้ เลือกแล้วฤๅมีฯ
๏ พริกเผ็ดใครเผ็ดให้ ฉันใด
หนามย่อมหนามเองใคร เซี่ยมให้
จันทร์กฤษณาไฉน ใครอบ หอมฤๅ
วงศ์แห่งนักปราชญ์ได้ เพราะด้วยฉลาดเองฯ
๏ ภูเขาเอนก ล้ำ มากมี
บ่มิหนักแผ่นธรณี หน่อยไซร้
หนักนักแต่กระลี ลวงโลก
อันจักทรงทานได้ แต่พื้นนรกานต์๚
๏ ดารามีมากน้อย ถึงพัน
บ่เปรียบกับดวงจันทร์ หนึ่งได้
คนพาลมากอนันต์ ในโลก
จะเทียบเท่าปราชญ์ไซร์ ยากแท้ฤๅถึงฯ
๏ ถึงจนทนสู้กัด กินเกลือ
อย่าเที่ยวแล่เนื้อเถือ พวกพ้อง
อดอยากเยี่ยงอย่างเสือ สงวนศักดิ์
โซก็เสาะใส่ท้อง จับเนื้อกินเอง๚
๏ ตีนงูงูไซร้หาก เห็นกัน
นมไก่ไก่สำคัญ ไก่รู้
หมู่โจรต่อโจรหัน เห็นเล่ห์ กันนา
เชิงปราชญ์ฉลาดกล่าวผู้ ปราชญ์รู้ เชิงกันฯ
๏ เว้นวิจารณ์ว่างเว้น สดับฟัง
เว้นที่ถามอันยัง ไป่รู้
เว้นเล่าลิขิตสัง- เกตว่าง เว้นนา
เว้นดั่งกล่าวว่าผู้ ปราชญ์ได้ฤามีฯ
๏ รู้น้อยว่ามากรู้ เริงใจ
กลกบเกิดอยู่ใน สระจ้อย
ไป่เห็นชเลไกล กลางสมุทร
ชมว่าน้ำบ่อน้อย มากล้ำลึกเหลือฯ
๏ เสียสินสงวนศักดิ์ไว้ วงศ์หงส์
เสียศักดิ์สู้ประสงค์ สิ่งรู้
เสียรู้เร่งดำรง ความสัตย์ ไว้นา
เสียสัตย์อย่าเสียสู้ ชีพม้วยมรณาฯ
๏ ตัดจันทน์ฟันม่วงไม้ จัมบก
แปลงปลูกหนามรามรก รอบเรื้อ
ฆ่าหงส์มยุรนก กระเหว่า เสียนา
เลี้ยงหมู่กากินเนื้อ ว่ารู้ลีลาฯ
๏ น้ำเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม
ทรายเหลือบหางยูงงาม ว่าหญ้า
ตาทรายยิ่งนิลวาน พรายเพริศ
ลิงว่าหวัวหวังหว้า หว่าดิ้นโดดตามฯ
๏ พระสมุทรสุดลึกล้น คณนา
สายดิ่งทิ้งทอดมา หยั่งได้
เขาสูงอาจวัดวา กำหนด
จิตมนุษย์นี้ไซร้ ยากแท้หยั่งถึงฯ
๏ รักกันอยู่ขอบฟ้า เขาเขียว
เสมออยู่หอแห่งเดียว ร่วมห้อง
ชังกันบ่แลเหลียว ตาต่อ กันนา
เหมือนขอบฟ้ามาป้อง ป่าไม้มาบังฯ
๏ ให้ท่านท่านจักให้ ตอบสนอง
นบท่านท่านจักปอง นอบไหว้
รักท่านท่านควรครอง ความรัก เรานา
สามสิ่งนี้เว้นไว้ แต่ผู้ทรชนฯ
๏ แม้นมีความรู้ดั่ง สัพพัญญู
ผิบ่มีคนชู ห่อนขึ้น
หัวแหวนค่าเมืองตรู ตาโลก
ทองบ่รองรับพื้น ห่อนแก้วมีศรีฯ
๏ เจ็ดวันเว้นดีดซ้อม ดนตรี
อักขระห้าวันหนี เนิ่นช้า
สามวันจากนารี เป็นอื่น
วันหนึ่งเว้นล้างหน้า อับเศร้าศรีหมองฯ
๏ ใครจักผูกโลกแม้ รัดรึง
เหล็กเท่าลำตาลตรึง ไป่หมั้น
มนตร์ยาผูกนานหึง หายเสื่อม
ผูกเพื่อไมตรีนั้น แน่นเท้าวันตายฯ
๏ ผจญคนมักโกรธด้วย ไมตรี
ผจญหมู่ทรชนดี ต่อตั้ง
ผจญคนจิตโลภมี ทรัพย์เผื่อ แผ่นา
ผจญอสัตย์ให้ยั้ง หยุดด้วยสัตยาฯ
๏ คนใดคนหนึ่งผู้ ใจฉกรรจ์
เคียดฆ่าคนอนันต์ หนักแท้
ไป่ปานบุรุษอัน ผจญจิต เองนา
เธียรท่านเยินยอแล้ ว่าผู้มีชัยฯ
๏ ความรู้ดูยิ่งล้ำ สินทรัพย์
คิดค่าควรเมืองนับ ยิ่งไซร้
เพราะเหตุจักอยู่กับ กายอาต มานา
โจรจักเบียนบ่ได้ เร่งรู้เรียนเอาฯ
๏ คนใดโผงพูดโอ้ อึงดัง
อวดว่ากล้าอย่าฟัง สัปปลี้
หมาเห่าเล่าอย่าหวัง จักขบ ใครนา
สองเหล่าเขาหมู่นี้ ชาติเชื้อเดียวกันฯ
๏ โทษท่านผู้อื่นเพี้ยง เมล็ดงา
ปองติฉินนินทา ห่อนเว้น
โทษตนเท่าภูผา หนักยิ่ง
ป้องปิดคิดซ่อนเร้น เรื่องร้ายหายสูญฯ
๏ ราชาธิราชน้อม ในสัตย์
อำมาตย์เป็นบรรทัด ถ่องแท้
ฝูงราษฎร์อยู่ศรีสวัสดิ์ ทุกเมื่อ
เมืองดั่งนี้เลิศแล้ ไพร่ฟ้าเปรมปรีดิ์ฯ
๏ คนใดละพ่อทั้ง มารดา
อันทุพพลชรา ภาพแล้ว
ขับไล่ไม่มีปรา นีเนตร
คนดั่งนี้ฤาแคล้ว คลาดพ้นไภยันฯ
๏ หอมกลิ่นดอกไม้ที่ นับถือ
หอมแต่ตามลมฤา กลับย้อน
หอมแห่งกลิ่นกล่าวคือ ศีลสัตย์ นี้นา
หอมสุดหอมสะท้อน ทั่วใกล้ไกลถึงฯ
๏ ก้านบัวบอกลึกตื้น ชลธาร
มารยาทส่อสันดาน ชาติเชื้อ
โฉดฉลาดเพราะคำขาน ควรทราบ
หย่อมหญ้าเหี่ยวแห้งเรื้อ บอกร้ายแสลงดินฯ
๏ อย่าเอื้อมเด็ดดอกฟ้า มาถนอม
สูงสุดมือมักตรอม อกไข้
เด็ดแต่ดอกพยอม ยามยาก ชมนา
สูงก็สอยด้วยไม้ อาจเอื้อมเอาถึงฯ
๏ เบิกทรัพย์วันละบาทซื้อ มังสา
นายหนึ่งเลี้ยงพยัคฆา ไป่อ้วน
สองสามสี่นายมา กำกับ กันแฮ
บังทรัพย์สี่ส่วนถ้วน บาทสิ้นเสือตายฯ
๏ โคควายวายชีพได้ เขาหนัง
เป็นสิ่งเป็นอันยัง อยู่ไซร้
คนเด็ดดับสูญสัง ขารร่าง
เป็นชื่อเป็นเสียงได้ แต่ร้ายกับดีฯ
๏ ถึงจนทนสู้กัด กินเกลือ
อย่าเที่ยวแล่เนื้อเถือ พวกพ้อง
อดอยากเยี่ยงอย่างเสือ สงวนศักดิ์
โซก็เสาะใส่ท้อง จับเนื้อกินเองฯ
๏ บางคาบภาณุมาศขึ้น ทางลง ก็ดี
บางคาบเมรุบ่ตรง อ่อนแอ้
ไฟยมดับเย็นบง- กชงอก ผานา
ยืนสัตย์สาธุชนแท้ ห่อนเพี้ยนสักปางฯ
๏ เพื่อนกิน สิ้นทรัพย์แล้ว แหนงหนี
หาง่าย หลายหมื่นมี มากได้
เพื่อนตาย ถ่ายแทนชี- วาอาตม์
หากยาก ฝากผีไข้ ยากแท้จักหาฯ
๏ อ่อนหวานมานมิตรล้น เหลือหลาย
หยาบบ่มีเกลอกราย เกลื่อนใกล้
ดุจดวงศศิฉาย ดาวดาษ ประดับนา
สุริยส่องดาราไร้ เมื่อร้อนแรงแสงฯ
๏ ยอข้ายอเมื่อแล้ว การกิจ
ยอยกครูยอสนิท ซึ่งหน้า
ยอญาติประยูรมิตร เมื่อลับ หลังแฮ
คนหยิ่งแบกยศบ้า อย่ายั้งยอควรฯ
๏ พริกเผ็ดใครให้เผ็ด ฉันใด
หนามย่อมแหลมเองใคร เซี่ยมให้
จันทน์กฤษณาไฉน ใครอบ หอมฤๅ
วงศ์แห่งนักปราชญ์ได้ เพราะด้วยฉลาดเองฯ
๏ สนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อ ในตน
กินกัดเนื้อเหล็กจน กร่อนขร้ำ
บาปเกิดแก่ตนคน เป็นบาป
บาปย่อมทำโทษซ้ำ ใส่ผู้บาปเองฯ
๏ ใครจักผูกโลกแม้ รัดรึง
เหล็กเท่าลำตาลตรึง ไป่หมั้น
มนต์ยาผูกนานหึง หายเสื่อม
ผูกเพื่อไมตรีนั้น แน่นเท้าวันตายฯ
๏ ความเพียรเป็นอริแล้ว เป็นมิตร
คร้านเกียจเป็นเพื่อนสนิท ร่วมไร้
วิชาเฉกยาติด ขมขื่น
ประมาทเหมือนดับไต้ ชั่วร้ายฤๅเห็นฯ
๏ เห็นใดจำให้แน่ นึกหมาย
ฟังใดอย่าฟังดาย สดับหมั้น
ชนม์ยืนอย่าพึงวาย ตรองตรึก ธรรมนา
สิ่งสดับทั้งนั้น ผิดเพี้ยนเป็นครูฯ
๏ อย่าโทษไทท้าวท่วย เทวา
อย่าโทษสถานภูผา ย่านกว้าง
อย่าโทษหมู่วงศา มิตรญาติ
โทษแต่กรรมเองสร้าง ส่งให้เป็นเองฯ
๏ โทษท่านผู้อื่นเพี้ยง เมล็ดงา
ปองติฉินนินทา ห่อนเว้น
โทษตนเท่าภูผา หนักยิ่ง
ป้องปิดคิดซ่อนเร้น เรื่องร้ายหายสูญฯ
๏ เดินทางต่างเทศให้ พิจารณ์
อาสน์นั่งนอนอาหาร อีกน้ำ
อดนอนอดบันดาล ความโกรธ
ห้าสิ่งนี้คุณล้ำ เลิศล้วนควรถวิลฯ
๏ เป็นคนคลาดเหย้าอย่า เปล่ากาย
เงินสลึงติดชาย ขอดไว้
เคหาอย่าสูญวาย ข้าวเปลือก มีนา
เฉินฉุกขุกจักได้ ผ่อนเลี้ยงอาตมาฯ
๏ พายเถิดพ่ออย่ารั้ง รอพาย
จวนตะวันจักสาย ส่องฟ้า
ของสดสิ่งควรขาย จักขาด ค่าแฮ
ตลาดเลิกแล้วอ้า บ่นอื้นเอาใครฯ
๏ ทรัพย์มีสี่ส่วนไซร้ ปูนปัน
ภาคหนึ่งพึงเกียดกัน เก็บไว้
สองส่วนเบ็ดเสร็จสรรพ์ การกิจ ใช้นา
ยังอีกส่วนควรให้ จ่ายเลี้ยงตัวตนฯ
๏ ย่าขุดขอดท่านด้วย วาจา
อย่าถากท่านด้วยตา ติค้อน
ฟังคำกล่าวมฤษา โสตหนึ่ง นะพ่อ
หยิบบ่ศัพท์กลับย้อน โทษให้กับตนฯ
๏ กาน้ำดำดิ่งด้น เอาปลา
กาบกคิดใคร่หา เสพบ้าง
ลงดำส่ำมัจฉา ชลชาติ
สวะปะคอค้าง ครึ่งน้ำจำตายฯ
๏ ไปเรือนท่านไซร้อย่า เนานาน
พูดแต่พอควรการ กลับเหย้า
ริร่ำเรียนการงาน เรือนอาต มานา
ยากเท่ายากอย่าเศร้า เสื่อมสิ้นความเพียรฯ
๏ เป็นคนคิดแล้วจึ่ง เจรจา
อย่ามลนหลับตา แต่ได้
เลือกสรรหมั่นปัญญา ตรองตรึก
สติริรอบให้ ถูกแล้วจึงทำฯ
๏ ปางน้อยสำเหนียกรู้ เรียนคุณ
ครั้นใหญ่ย่อมหาทุน ทรัพย์ไว้
เมื่อกลางแก่แสวงบุญ ธรรมชอบ
ยามหง่อมทำใดได้ แต่ล้วนอนิจจังฯ
๏ คุณแม่หนาหนักเพี้ยง พสุธา
คุณบิดรดุจอา- กาศกว้าง
คุณพี่พ่างศิขรา เมรุมาศ
คุณพระอาจารย์อ้าง อาจสู้สาครฯ
๏ เย็นเงาพฤกษ์มิ่งไม้ สุขสบาย
เย็นญาติสุขสำราย กว่าไม้
เย็นครูยิ่งพันฉาย กษัตริย์ยิ่ง ครูนา
เย็นร่วมพระเจ้าให้ ร่มฟ้าดินบนฯ
๏ วิชาควรรักรู้ ฤๅขาด
อย่าหมิ่นศิลปศาสตร์ ว่าน้อย
รู้จริงสิ่งเดียวอาจ มีมั่ง
เลี้ยงชีพช้าอยู่ร้อย ชั่วลื้อเหลนหลานฯ
๏ อย่าหมิ่นของเล็กนั้น สี่สถาน
เล็กพริกพระกุมาร จิดจ้อย
งูเล็กเท่าสายพาน พิษยิ่ง
ไฟเล็กเท่าหิ่งห้อย อย่าได้ดูแคลนฯ
แหม...เรื่องอย่างนี้ล่ะเขียนคล่องเชียวนะ ไอ้กุ๊ก (ใช้เวลา 3 ชม. ถ้าเขียนงานได้เร็วอย่างนี้ก็ดีสิ :P)
No comments:
Post a Comment