โชคดีของทริส และของเรา ที่ได้ท่าน อ. ดร.บุญดี บุญญากิจ มาเป็นที่ปรึกษา
อ.บุญดี เป็น Guru ด้าน Benchmarking ในเมืองไทย โดยท่านริเริ่มนำเข้ามาในไทยตั้งแต่ปี 2543
(ตอนนั้น เรายังเรียนอยู่เลย...)
เมื่อเราถูกเรียกร้องโดยลูกค้าที่เคารพ และเป็นโชคของเราขนาดนี้ มีหรือเราจะปล่อยไป
อ.จึงได้ทำการ "แบ่งปัน" เสี้ยวความรู้ของ อ. เกี่ยวกับ Benchmarking ให้พวกเราที่ TAM 2 ฟัง
เราเรียกการคุยกันนี้ว่า TAM Talk (^^ เลียนแบบ google talk)
ต่อไปนี้ เป็นการถ่ายทอด "ตามความเข้าใจ" ของเรา
Benchmarking คือ อะไร?
Benchmarking คือ การเทียบเคียงการปฏิบัติ ในประเด็นที่เลือก กับ Best practices เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติของเรา ให้ไปถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
ภาษาง่ายๆ ของเราคือ "เรียนรู้จาก Champ"
ข้อดีของ Benchmarking คือ การสร้างความสำเร็จแบบก้าวกระโดด !! ซึ่งเหนือกว่าการทำ Kaizen มันเป็น short cut นั่นเอง
[ความเห็นส่วนตัว : ชอบข้อดีอันนี้จริงๆ]
เดิมที เรายังเข้าใจผิดว่า Benchmarking คือการเปรียบเทียบ แล้วเอาข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุง อยู่เลย ซึ่งมันยังไม่ใช่ Benchmarking ทั้งกระบวนการ
อ.บุญดี เป็น Guru ด้าน Benchmarking ในเมืองไทย โดยท่านริเริ่มนำเข้ามาในไทยตั้งแต่ปี 2543
(ตอนนั้น เรายังเรียนอยู่เลย...)
เมื่อเราถูกเรียกร้องโดยลูกค้าที่เคารพ และเป็นโชคของเราขนาดนี้ มีหรือเราจะปล่อยไป
อ.จึงได้ทำการ "แบ่งปัน" เสี้ยวความรู้ของ อ. เกี่ยวกับ Benchmarking ให้พวกเราที่ TAM 2 ฟัง
เราเรียกการคุยกันนี้ว่า TAM Talk (^^ เลียนแบบ google talk)
ต่อไปนี้ เป็นการถ่ายทอด "ตามความเข้าใจ" ของเรา
Benchmarking คือ อะไร?
Benchmarking คือ การเทียบเคียงการปฏิบัติ ในประเด็นที่เลือก กับ Best practices เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติของเรา ให้ไปถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
ภาษาง่ายๆ ของเราคือ "เรียนรู้จาก Champ"
ข้อดีของ Benchmarking คือ การสร้างความสำเร็จแบบก้าวกระโดด !! ซึ่งเหนือกว่าการทำ Kaizen มันเป็น short cut นั่นเอง
[ความเห็นส่วนตัว : ชอบข้อดีอันนี้จริงๆ]
เดิมที เรายังเข้าใจผิดว่า Benchmarking คือการเปรียบเทียบ แล้วเอาข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุง อยู่เลย ซึ่งมันยังไม่ใช่ Benchmarking ทั้งกระบวนการ
- Benchmarking เป็นกระบวนการ ไม่ใช่แค่กิจกรรมการสำรวจข้อมูล เพื่อเอาข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบให้รู้เฉยๆ หรือให้ตัดสินใจเฉยๆ แต่การตัดสินใจจะต้องนำไปสู่การปรับปรุงด้วย
- Benchmarking ต้องเกิดจาก "ความเต็มใจที่จะแบ่งปันข้อมูลร่วมกัน"
- Benchmarking ก่อให้เกิดแรงฮึด "เค้าทำได้ 600% ทำไมเราจะทำไม่ได้"
- Benchmarking ที่จะก่อให้เกิดความสำเร็จแบบก้าวกระโดด ต้องอาศัย "ความคิดสร้างสรรค์" จากการเรียนรู้ข้ามสายงาน หรือข้ามธุรกิจ มันทำให้เกิด "Innovation"
[ชอบตัวอย่างที่ อ.ยกมา เป็นเรื่องการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากห้องผ่าตัด ซึ่งเอาตัวเองไปเทียบเคียงกับการปรับแต่งรถระหว่างการแข่งขัน F1 และการเต้นรำ คุณพระ!!! คิดได้ไง???]
[รูปข้างบนนี้คือ Formal Benchmarking]
ก่อนที่จะทำ ต้องถามคำถามต่อไปนี้ ...
- เป้าหมายเราคืออะไร?
- เราอยู่ที่ไหน?
- จะไปได้อย่างไร?
- ใครที่เก่งที่สุด? (ในเรื่องนั้นๆ)
- คนที่เก่งเขาทำอย่างไร?
- ทำอย่างไรจะได้อย่างเขา หรือดีกว่าเขา หรือเอามาใช้ในงานของเราได้?
ส่วนตั๊ว ส่วนตัว : ตื่นตาตื่นใจที่รู้ว่าจริงๆ แล้ว การเลียนแบบ / เรียนรู้จากประสบการณ์ / ความผิดพลาดของคนอื่น มันมีพลังมากกว่าที่คิด เพราะมันทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างก้าวกระโดด
อย่างเพื่อนที่ฉลาดลอก ... มีไม่ใช่น้อยที่ได้คะแนนมากกว่าต้นฉบับ ... เราไม่เคยเพราะ "สายตาสั้น" 555