พระอาจารย์ (พระมหาเหล็ก จันทสีโล) มักจะเทศน์เสมอว่า ...
พละ 5 กับอินทรีย์ 5 ต้องพยายามทำให้เสมอกัน
มิฉะนั้น จะปฏิบัติไม่ได้ผล หรือได้ก็เนิ่นช้า
อินทรีย์ คือความเป็นใหญ่ ใน 5 ประการ
พละ คือ ความไม่หวั่นไหว ใน 5 ประการ
มีอะไรบ้าง?
สัทธา (เขียนแบบบาลี) วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา
แล้วก็บวกคำว่า อินทรีย์ กับพละ เข้าไปข้างหลัง กลายเป็น สัทธินทรีย์ /สัทธาพละ ฯลฯ
ทีนี้ปราชญ์ท่านจัดกลุ่มเพื่อให้เข้าใจง่ายไว้ว่าเหมือน รถเทียมม้า 2 คู่
(ความหมายในที่นี้จะเน้นที่การปฏิบัติตามที่พระอาจารย์สอนนะคะ)
คู่หน้า คือ สัทธา + ปัญญา : สัทธา คือความเชื่อ มั่นใจว่าการปฏิบัติธรรมย่อมทำให้เกิดผลดี มีแรงใจที่จะมาปฏิบัติ และมาปฏิบัติต่อเรื่อยๆ แต่ถ้ามากไป ก็จะกลายเป็นงมงาย มาทุกครั้ง แต่ไม่เกิดผลอะไรสักที ได้ความอิ่มบุญกลับไป แล้วมันจะมีอยู่ช่วงหนึ่งที่ทุกคนที่เคยปฏิบัติต้องเป็น คือ ช่วงที่เกิดศรัทธาเวอร์ แบบมีอะไรยกให้ได้หมด (คุ้นๆ มั้ย?) อยากชวนคนโน้นคนนี้มาปฏิบัติ คือเห็นดีเห็นงามมาก ... อันนี้ต้องระวัง เพราะเป็นจุดที่ถ้าไม่ก้าวข้ามก็จะติดอยู่แค่ ปีตินี่แหละ ติดบุญ ติดสุข ติดดี ตรงนี้ต้องใช้ปัญญา เข้ามารู้ ว่าเรากำลังหลงอยู่ในอะไร แล้วก็ปล่อยซะ
คู่ที่สอง คือ วิริยะ + สมาธิ : อันนี้ทุกคนก็คงจะเป็นอีกนั่นแหละ แรกๆ ด้วยความศรัทธามากๆ ก็จะขยันขันแข็ง เดินมันเข้าไป กำหนดมันเข้าไปแบบกลัวพลาด กลัวหลุด ซึ่งมันก็ดีนะ ความขยัน แต่ถ้ามันมากไป เพ่ง-เครียดมากไป ขยันเกิน มันจะฟ้องเลยว่าผิด ผลเป็นไงล่ะ นอนไม่หลับ อันนี้ถึงขั้นมึนเลยนะ คือ "ทำผิด" แล้วอ่ะพูดง่ายๆ มันไม่ใช่สายกลาง ต้องพัก แล้วปรับเข้าสู่โหมดสมาธิเบาๆ ด้วยการตามลมหายใจ หรือท้องพองยุบไปเรื่อยๆ (ความเห็นส่วนตัว พบว่าการฝึกด้วยการระลึกรู้เวทนาก็ช่วยได้มากๆ ค่ะ) แล้วถ้าสมาธิมากเกินไปเป็นยังไง? หลับไงคะ หลับสบายยยยยยยยยย ตกอยู่ในภวังค์ ออกมาก็มีความสุข สดชื่น นี่ก็ไม่ไปถึงไหนเหมือนกัน ติดสบายยยย ผิวพรรณดี มีออร่า (จริงๆ นะจ๊ะ) สองอย่างนี้ให้เอาไว้ balance กันและกัน
คนขับ คือ สติ : เอาไว้กระตุกม้า ... อะไรมากไป อะไรน้อยไป ต้อง "ฉลาดรู้" เองเสมอ เติม ปรับ ให้เท่าๆ กัน ให้อยู่ในสายกลาง อย่ามากไป อย่าน้อยไป ขาดไม่ได้ ขาดแล้ว "หลง" ถ้ามีสติก็จะไม่หลง สติกับความหลงคือการ์ดทำลายกันและกันที่พลังเท่าๆ กันด้วย 555+ (โผล่มาเกมการ์ดเฉย !)
(ณ จุดที่เคว้งคว้างที่สุด วิกฤตทดสอบใจมากที่สุด
เราพบว่า จุดอ่อนที่สุดของเรา คือ "ศรัทธา"
ทั้ง สัทธาพละ และสัทธินทรีย์ ทั้งที่มันเป็นเบื้องต้นที่ทำให้ผลักดันองค์ธรรมอื่นๆ)
พระอาจารย์ยังดูออกเลย ว่าเป็นนักวิจัย 555+
----------------------------------------
เอาเรื่องชีวิตแบบทางโลกบ้าง
คนที่ศรัทธาอ่อน อาจจะเป็นคนที่เกิดความระแวงสงสัยได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
บางครั้ง ก็น่าสงสาร ที่เป็นเหมือนคน "Paranoid"
มันทรมานนะ กับการ "ไม่ศรัทธา" ในอะไรเลย ทุกอย่างต้องพิสูจน์เสมอ
เป็นพวกหวาดระแวง ต้องพิสูจน์ทุกอย่างก่อนเชื่อ
เป็นพวกหวาดระแวง ต้องพิสูจน์ทุกอย่างก่อนเชื่อ
และถ้ากฎของจักรวาล ที่อยู่ในหนังสือ The secret เป็นจริง
คนที่ไม่ศรัทธา ก็คือคนที่ไม่ประสบความสำเร็จในการใช้กฎนั้น
ทำไมนะ ในเมื่อโลกหมุนด้วยความคิด แต่คนที่ศรัทธา กลับเป็นคนที่ประสบความสำเร็จมากกว่า
เป็นไปได้มั้ยว่า ความคิด มันเป็นกระแสที่ไม่สงบ ดิ่งเดี่ยว ลึกซึ้งเพียงพอเท่ากับศรัทธา??
มีบล็อกหนึ่งบอกว่า "ความเชื่อมั่น (ความคิด) + หลักฐานความสำเร็จ = ศรัทธา"
การสร้างศรัทธาสำหรับคนศูนย์ใจนั้นง่ายมาก
ในขณะที่การสร้างศรัทธาสำหรับคนศูนย์หัวใน enneagram นั้นยากมาก
แต่การทำลายศรัทธา กลับง่ายมาก ง่ายสุดๆ
เพราะมันไม่ใช่แค่ความเชื่อมั่น ความเข้าใจ (ในระดับความคิด)
แต่มันคือความศรัทธา คือ "หัวใจ"
ในขณะที่การสร้างศรัทธาสำหรับคนศูนย์หัวใน enneagram นั้นยากมาก
แต่การทำลายศรัทธา กลับง่ายมาก ง่ายสุดๆ
เพราะมันไม่ใช่แค่ความเชื่อมั่น ความเข้าใจ (ในระดับความคิด)
แต่มันคือความศรัทธา คือ "หัวใจ"
การเรียนรู้การสร้างศรัทธา จากศาสนาที่บ่มเพาะความศรัทธาเป็นหลัก
แม้คนอีกกลุ่มหนึ่งจะมองว่า งมงาย ปราศจากซึ่งปัญญา
อาจทำให้คนที่รับรู้โลกผ่านความคิด มีวิธีมองโลกที่แตกต่างไปก็เป็นได้
เพราะศาสนาทุกศาสนาต่างก็สอนคนให้เป็นคนดี...
[อย่างหนังเรื่อง Life of Pi เป็นหนังที่ไม่ทำให้เราอินได้เลย
เพราะเราไม่มี faith เราเข้าใจแต่ไม่อิน จริงๆ นะ (-_-)"]
ด้วยเหตุนี้ เราว่ามันไม่แปลก ที่ทั้งสองศาสนาจะสอนต่างกัน
คริสต์ เน้นที่ความรักเมตตา และการรวมกับบางสิ่งที่เป็นเป้าหมายซึ่งอยู่สูงกว่าตนเอง
พุทธ เน้นที่การสละ ละวาง การกลับสู่ต้นกำเนิดของต้นกำเนิดก็คือการไม่กำเนิด (งงมะ)
(ไม่ขอแตะอื่นๆ เพราะไม่ศึกษาอย่างเพียงพอจ๊ะ)
การที่อีกฝ่าย จะต่อว่าว่าอีกแนวทางหนึ่งผิด ไม่น่าจะเป็นเรื่องถูกต้อง
ก็ Position เค้าต่างกันอ่ะ กลุ่มเป้าหมายก็ต่างกัน (STP) Strategies ก็แตกต่าง
การสื่อสารก็ต่างกัน (Mkt. Comm.)
ลึกๆ แล้ว Core product ก็แตกต่างกัน ทั้งที่มันคือ "การกลับสู่จุดเริ่ม" เหมือนกัน
คริสต์ เน้นที่ความรักเมตตา และการรวมกับบางสิ่งที่เป็นเป้าหมายซึ่งอยู่สูงกว่าตนเอง
พุทธ เน้นที่การสละ ละวาง การกลับสู่ต้นกำเนิดของต้นกำเนิดก็คือการไม่กำเนิด (งงมะ)
(ไม่ขอแตะอื่นๆ เพราะไม่ศึกษาอย่างเพียงพอจ๊ะ)
การที่อีกฝ่าย จะต่อว่าว่าอีกแนวทางหนึ่งผิด ไม่น่าจะเป็นเรื่องถูกต้อง
ก็ Position เค้าต่างกันอ่ะ กลุ่มเป้าหมายก็ต่างกัน (STP) Strategies ก็แตกต่าง
การสื่อสารก็ต่างกัน (Mkt. Comm.)
ลึกๆ แล้ว Core product ก็แตกต่างกัน ทั้งที่มันคือ "การกลับสู่จุดเริ่ม" เหมือนกัน
กลุ่ม คริสตศาสนา จุดมุ่งหมายเพื่อรวมกับสิ่งๆ หนึ่ง ที่ยิ่งใหญ่มากๆ (ต้นกำเนิด)
กลุ่ม พุทธศาสนา จุดมุ่งหมายเพื่อถอยกระบวนการกำเนิด เพื่อการไม่กำเนิด
ไม่แปลกที่ศาสนากลุ่มที่ว่าด้วย "ความเชื่อ" จะดึงคนได้มากกว่า "ความคิด"
เพราะเห็นๆ กันอยู่ว่า คนที่ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความเชื่อ "ประสบความสำเร็จในทางโลก"
มากกว่าคนที่ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความคิด (เพราะเอาแต่ปล่อยวาง)
ก็ยอมรับกันไป ว่า ศาสนากลุ่มที่ว่าด้วย "ความคิด" เป็น Niche Market ^_^
ซึ่งจากการที่ได้คุยกับน้องๆ ก็ได้พบว่า
แม้ในกลุ่มศาสนาที่ว่าด้วย "ความเชื่อ" ก็ยังมีกลุ่มที่ "วิเคราะห์ ตีความพระคัมภีร์"
ซึ่งปอยฝ้ายบอกว่า "เราว่าเหมาะกับเธอ" 555+
ซึ่งจากการที่ได้คุยกับน้องๆ ก็ได้พบว่า
แม้ในกลุ่มศาสนาที่ว่าด้วย "ความเชื่อ" ก็ยังมีกลุ่มที่ "วิเคราะห์ ตีความพระคัมภีร์"
ซึ่งปอยฝ้ายบอกว่า "เราว่าเหมาะกับเธอ" 555+
ในฐานะที่เป็นผู้บริโภค การตัดสินใจเชื่อ ใช้ (ปฏิบัติตาม) ขึ้นอยู่กับ
"ความสอดคล้อง" ของสิ่งที่เราเชื่อว่าตัวเราเป็นและอยากจะเป็น
กับ "ความเป็น" ที่แต่ละศาสนา แต่ละนิกายสื่อสารออกมาให้เราเท่านั้นเอง
เขียนตั้งแต่ 13/3/2014 ปีกว่าแล้วเหรอนี่ ^^ เพิ่มเติมส่วนที่เป็นคำอธิบายเกี่ยวกับอินทรีย์ 5/พละ 5 ค่ะ
No comments:
Post a Comment