เมื่อเช้าคุยกับน้องชาย (ซึ่งก็เพิ่งผ่านวันเกิดไปไม่กี่วัน แก่ๆ กันแล้ว) ก็คุยกันเรื่อง "โค้งปกติ"...ว่า
คนบนดินอย่างเราไม่มีวันรู้ "แผนของเบื้องบน" เพราะอยู่กันคนละระนาบ
เฉกเช่นที่ถ้าเราไม่มองจากมุมสูง เราก็จะไม่เห็นเลยว่า
คนที่วิ่งมาราธอนวิ่งตามๆ กันกระจายเป็นโค้งปกติ
(วันก่อนเราอยู่ -2sigma -_-")
รถที่วิ่งกันขวักไขว่บนท้องถนน ถ้าตัดช่วงที่ถนนยาวพอประมาณวิ่งได้สัก 1 ชั่วโมง
มันจะเห็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า โค้งปกติ ^^
อันนี้ก็เป็นกฎธรรมชาติอย่างหนึ่ง
งั้นก็มาคุยกันเรื่อง "ธรรมชาติ" กัน
วันเพ็ญขึ้น 15 เดือน 6 นี้ เด็กๆ ก็จะถูกสั่งสอนให้รู้และเรียกวันนี้ว่า วันวิสาขบูชา และเป็นวันสำคัญอย่างไรคะเด็กๆ ????
เราก็ตอบกันเจื้อยแจ้ว ... เป็นวันที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานค่ะคุณครู ...[เสียงยานคางงงง] แล้วในหัวก็จะมีเสียงเล็กๆ ถามกับตัวเองเสมอว่า...แล้วยังไงอ่ะ??
ในราวปี พ.ศ. 2542 สหประชาชาติได้มีมติให้วันนี้เป็นวันสำคัญของโลก เชียวนะ!
ปีนี้วันวิสาขบูชาตรงกับวันที่ 1 มิถุนายน เพราะปีนี้มีเดือน 8 สองหน ปกติวันนี้จะต้องอยู่ในเดือน พฤษภาคม (รู้สึกว่าวันหยุดมาถึงช้าาาา ...ไม่ใช่!)
ในมุมมองของเรา วันนี้เป็นเหมือนวันที่ระลึก ถึงคนธรรมดาๆ คนหนึ่ง ที่มีเกิด มีแก่ มีเจ็บ มีตาย ... แต่สิ่งที่ทำให้คนธรรมดาคนนี้ ไม่ธรรมดา ไม่ใช่แค่ปาฏิหารย์ที่เกิด ตรัสรู้ และตายในวันเดียวกันเท่านั้น มันเป็นเพราะว่าคนๆ นี้มีความรู้ที่ลึกซึ้งมาก ขนาดที่ถึงระดับรู้ "ใบไม้ในป่าทั้งป่า"
ว่าโดยย่อ ... วันวิสาขบูชาคือวันที่ธรรมชาติเล็กๆ กับธรรมชาติใหญ่ๆ หลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียว เป็นวันที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์มีศักยภาพที่จะ "รู้"
นอกจากจะรู้แล้ว พระพุทธองค์ยังได้พากเพียรถ่ายทอดให้คนอื่นๆ ได้รู้ตามในประเด็นสำคัญๆ ที่เห็นว่ามันจะเป็นการพ้นไปจากการเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ บอกวิธี บอกเคล็ดลับ และย้ำนักย้ำหนาว่า ถ้าใครอยากจะไปถึงเป้าหมายเดียวกัน ก็ไม่มีหนทางลัดสั้น ต้องทำ ต้องปฏิบัติด้วยนะ มันถึงจะอิน [จะเรียกว่าพ้นทุกข์หรือออกจาก matrix ก็ไม่ต่างกันเท่าไรหรอกเนอะ]
"I'm trying to free your mind, Neo. But I can only show you the door. You're the one that has to walk through it" Morpheus
พระสมณโคดมเลือกมาสอนเพียงไม่กี่ประเด็น ซึ่งเป็นแค่หยิบมือเดียวจากใบไม้ทั้งหมดในป่า โดยพระอัสสชิสรุปสิ่งที่ท่านสอนตอบพราหมณ์อุปปติสสะ (พระสารีบุตร) ไว้อย่างงดงามว่า ...
"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น
พระมหาสมณะมีปกติทรงสั่งสอนอย่างนี้"
พระไตรปิฎก เล่มที่ 4 พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 1
Credit : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?
-------------------------------
ความรู้ทั้งหมดที่พระพุทธองค์รู้ ที่ว่าเหมือนใบไม้ในป่าทั้งป่านั้นคืออะไร? ความรู้ที่ว่านั้นก็คือ ความรู้เกี่ยวกับ "กฎของธรรมชาติ" พระท่านเรียก "นิยาม" ซึ่งมีอยู่ 5 อย่าง
มีอะไรยังไงบ้าง? มีธรรมนิยาม อุตุนิยาม พีชนิยาม กรรมนิยามและจิตนิยาม
1) ธรรมนิยาม (general laws) : ทุกอย่างบนโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ล้วนมีลักษณะร่วมกัน 3 อย่าง คือ
- ทุกขัง (pain) - ความบีบคั้น ความเจ็บปวด ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความคับแค้นใจ ซึ่งเป็นแรงผลักทำให้วงจรปฏิจจสมุปบาทหมุน...เฉพาะในสิ่งมีชีวิตที่มีจิต ถ้าเป็นก้อนหิน ดิน หรือเซลล์อย่างต้นไม้จะเรียก tension หรือ stress พวกความเค้น ความเครียด ที่เป็นแรงผลักให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
- อนิจจัง (impermanence) - การเปลี่ยนแปลง แบบ... เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป (กราฟจะเหมือนโค้งปกติแหละ แต่ไม่ใช่นะ LoL)
- อนัตตา (egolessness and non-substantiality) - การไม่มีอะไรเที่ยงแท้ถาวร ที่จะสามารถควบคุมได้ ไม่มีอะไรที่จะเป็นของอะไร มันเป็นเช่นนั้นเอง มันเป็นธรรมดา
2) อุตุนิยาม (physical laws) : กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และอากาศ ซึ่งถ้าจัดกลุ่มตามวิชาฟิสิกส์ จะแยกได้เป็น กลุ่มของแข็ง (Solid mechanics) หรือธาตุดิน กลุ่มของไหล (Fluid mechanics) หรือน้ำ ลม และไฟ กลุ่มอากาศ (Space) สุญญตา ที่ว่าง (เวลาปฏิบัติต้องนั่งดูพวกนี้ในตัวเราแหละ...มันเป็นเรื่องธรรมชาติ)
[ในหลวงทรงพระปรีชาในกฎนี้ระดับเทพที่เรียกน้ำได้เลยนะ ^^]
Credit : ThaiGoodView.com |
3) พีชนิยาม (biological laws) : กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต พืชและสัตว์ อันนี้จะใหญ่และซับซ้อนขึ้นมาอีกนิด เพราะมันเป็นเรื่องของการมีปฏิสัมพันธ์และสืบต่อข้อมูลจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งถูกทำให้เป็นระบบ ระเบียบ ด้วยกลไก "ธัมมตา 3" คือ สมตา - การปรับสมดุล, วัฏฏตา - การหมุนเวียน และชีวิตา - การมีหน้าที่ต่อกัน (โค้งปกติและทฤษฎีแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางมีประวัติการค้นเจอจากตรงนี้ แนะนำอ่าน ชีวิตนี้ฟ้าลิขิต ค่ะ ^^)
4) จิตนิยาม (psychic laws) : กฎธรรมชาติที่เป็นกลไกการทำงานของจิต โดยในพุทธศาสนาเรื่องจิตจะมีอธิบายไว้เยอะมาก ทั้งส่วนย่อ ไว้ให้เข้าใจและปฏิบัติตามได้ กับส่วนละเอียดที่มีอยู่ในพระอภิธรรม เพราะเรื่องจิต (Mind) นี้เป็นเรื่องสำคัญของคน รายละเอียดเกี่ยวกับจิตจะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นตัวจิต (Mind) ที่เป็นเหมือนน้ำเปล่าในภาชนะ และเจตสิก (Mental factor, mental concomitants) ที่เป็นเหมือนสีที่ใส่ลงมาผสมกับน้ำ ทำให้เกิดเป็นน้ำสีต่างๆ มี 52 อย่างด้วยกัน
จิตอย่างเดียวจะไม่สะท้อนอะไร จนเมื่อมีเจตสิกมาอยู่ด้วยจะทำให้เกิดสิ่งที่เราคุ้นเคย ที่เรียกว่า ผัสสะ (contact) เวทนา (feeling) สัญญา (perception สัญญาคือ การจำได้หมายรู้ รับรู้ แยกแยะได้ค่ะ) เจตนา (volition or will) เอกัคคตา (concentration) ชีวิตินทรีย์ (vitality) มนสิการ (attention) วิตก (thought conception) วิจาร (discursive thinking) อธิโมกข์ (determination) วิริยะ (effort) ปีติ (joy) ฉันทะ (zeal) โมหะ (delusion) อหิริกะ (shamelessness) อโนตตัปปะ (lack of moral dread) อุทธัจจะ (restlessness) โลภะ (greed) ทิฏฐิ (wrong view) มานะ (conceit) โทสะ (hatred) อิสสา (envy, jealousy) มัจฉริยะ (stinginess) กุกกุจจะ (worry) ถีนะ (sloth) มิทธะ (torpor) วิจิกิจฉา (doubt) สัทธา (faith) สติ (mindfulness) หิริ (conscience) โอตตัปปะ (moral dread) อโลภะ (non-greed) อโทสะ (non-hatred) ตัตรมัชฌัตตตา-อุเบกขา (equanimity) กายปัสสัทธิ (tranquillity of body) จิตตปัสสัทธิ (tranquillity of mind) กายลหุตา (agility of mental body) จิตตลหุตา (agility of mind) กายมุทุตา (elasticity of mental body) จิตตมุทุตา (elasticity of mind) กายกัมมัญญตา (adaptability of mental body) จิตตกัมมัญญตา (adaptability of mind) กายปาคุญญตา (proficiency of mental body) จิตตปาคุญญตา (proficiency of mind) กายุชุกตา (rectitude of mental body) จิตตุชุกตา (rectitude of mind) สัมมาวาจา (right speech) สัมมากัมมันตะ (right action) สัมมาอาชีวะ (right livelihood) กรุณา (compassion) มุทิตา (sympathetic joy) ปัญญินทรีย์ (wisdom)
ถามว่าเราจำเป็นต้องจำชื่อทั้งหมดมั้ย? ไม่จำเป็นหรอก แต่เราทุกคนรู้สึกได้ว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับจิตเราบ้าง ท่านให้รู้สภาวะนั้นๆ เป็นสำคัญมากกว่าจะไปตั้งชื่อกำกับ
(แน่นอนว่าเราชอบเรื่องนี้มากๆ ขอเขียนเยอะหน่อย การศึกษาพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องสนุกมากจริงๆ ราวกับอ่านหนังสือจิตวิทยาดีๆ ระดับปรมาจารย์...เวลาเรียนจิตเราจะนึกถึงศัพท์พวกนี้กลับไปกลับมาตลอดเวลา ^^ อยู่ใกล้เราระวังติดเรื่องพวกนี้นะ เพราะเราคลั่งมาก LoL)
5) กรรมนิยาม (karmic laws) : กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับเหตุและผล action = reaction ที่เกิดในระดับจิต เน้นที่การกระทำซึ่งประกอบด้วยเจตนา ต้องมีเจตนานะคะถึงจะเกิดพลังกรรม ซึ่งจำแนกได้หลายแบบเกินกว่าคนจะจินตนาการไปถึง (เป็นอจินไตย) รู้พอที่จะมีความเกรงกลัวต่อผลที่จะเกิดขึ้น จนเพียงพอที่จะตั้งตนไว้ชอบก็เพียงพอแล้ว
เมื่อเข้าใจกฎ รู้วงจรปฏิจจสมุปบาท (Paticca-samuppada) จะพบว่าในสายเกิด...ทุกอย่างมีเหตุของมันและจะเกิดขึ้นเมื่อเหตุปัจจัยเหมาะสมบริบูรณ์...
ในสายดับ...ก็ต้อง Unlock ด้วยแนวปฏิบัติทั้ง 8 (The 8 fold path) ที่ประกอบด้วย - สัมมาทิฏฐิ (Samma Ditthi-Complete or perfect vision)
- สัมมาสังกัปปะ (Samma Sankappa-Perfected Emotion or Aspiration)
- สัมมาวาจา (Samma Vaca-Perfected speech)
- สัมมากัมมันตะ (Samma Kammanta-Integral Action)
- สัมมาอาชีวะ (Samma Ajiva-Proper livelihood)
- สัมมาวายามะ (Samma Vayama-Complete or full effort, Diligence)
- สัมมาสติ (Samma Sati-Complete or thorough awareness,
right mindfulness) - สัมมาสมาธิ (Samma Samadhi-Complete or perfect concentration)
ซึ่งจะพาเราออกจากวงจรในที่สุด ...
ปัญหามีอยู่อย่างคือ
เราอยากจะออกจริงๆ เหรอ?
"เรา" ตัวกูนั่นแหละ ...ทนได้หรือกับการที่จะต้องสูญสลายไป ...
(จากคำพูดนี้รู้เลยว่า กิเลสหนามากกกก 555+)
ย้อนกลับไปเรื่อง "แผนของเบื้องบน"
ชีวิตเป็นเหมือนวิถีขี้เมา ที่เราไม่มีวันเดาได้หรอกว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต เพราะมันเกิดขึ้นอย่างไร้ระเบียบมากๆ ถึงเรียกว่า วิถีขี้เมา (อ่านได้ในชีวิตนี้ฟ้าลิขิตค่ะ)
อร๊ายยยย ยาวจุงงงงง
ที่จริงวันพระใหญ่ควรจะละเว้นจากการขับร้องและประโคมดนตรีนะ ^^ แต่วันนี้ยังไม่ถึง ดูคอนเสิร์ตได้ 555+
Credit : ขอบคุณข้อมูลดีๆ เรื่องนิยาม 5 จาก
คุณวิมล ไทรนิ่มนวล, http://www.naewna.com/columnonline/11322
https://www.facebook.com/ThrrmaChati/posts/657266214287307
Simple buddhism term from http://www.buddhanet.net/e-learning/ by John Allan
เจตสิก 52, พจนานุกรมพุทธศาสน์ฯ http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=355
No comments:
Post a Comment