หนังสือคณิตศาสตร์ดีๆ ที่สนุกสนานอีกเล่ม หนังสือเล่มนี้ได้มาเมื่อปี 2548 เพราะคำโปรย..
ที่บอกว่า "การสุ่มเลือกบัญชาทุกแง่มุมในชีวิตมนุษย์"
นี่ละหนา...อาจารย์จิตวิทยาของผม (รศ.ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต) จึงมักจะบอกว่า
"คนทำ ฟ้าลิขิต" เสมอ...ทั้งที่อาจารย์เป็นสายปรับพฤติกรรมของสกินเนอร์แท้ๆ
สำหรับเราหนังสือเรื่องนี้มันคือ "งานหลัก" ของเราแหละ เพราะฉะนั้นจะมี Bias มากหน่อย
เนื้อหาในส่วนที่อ่านมาได้
มันคือหนังสือประวัติศาสตร์! ผู้เขียนพาเราย้อนไปสู่ก่อนยุคมืดที่การค้นคว้า
และเรียบเรียงความรู้เป็นไปได้โดยลำบาก นักวิชาการตัวพ่อแต่ละคนล้วนแต่มีประวัติน่าสนใจ
น้อยคนมากที่จะไม่มีเหตุการณ์สลดเกิดขึ้น
คุณจะได้ทราบถึงประวัติในการคิดค้นทฤษฎีต่างๆ ของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 10 บท
แยกเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 2 ภาคใหญ่ๆ คือ
ภาค 1
บทที่ 1 เป็นเกริ่นนำ เรื่อง "โอกาสการเกิด" ของทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้
บทที่ 2 - บทที่ 6 เป็นช่วงที่ว่าด้วย "ความน่าจะเป็น"
ยอดนักคิดที่สร้างเครื่องมือเพื่อให้คนรุ่นหลังมีวิธีการคิดที่เป็นระบบ
วิธีการขบคิดถึง สถานการณ์ที่เป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น
หากเกิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ทั้งแบบที่มีเงื่อนไขและไม่มีเงื่อนไข
การคำนวณโอกาสของการเกิดสถานการณ์ต่างๆ
จบสวยๆ ที่สามเหลี่ยมปาสคาล
(ทฤษฎีบททองคำ แคลคูลัส ไม่ค่อยสวยละ ผ่าน! LOL)
ตลกร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันและประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นไปแล้ว
(ข้อมูลแน่นมากมาย)
อ่านแล้วก็ให้หัวเราะ และมีความหวังเล็กๆ ว่า
อย่ายอมแพ้!
แม้จะมีความน่าจะเป็นเพียง 1/10^10 ที่จะชนะ
หรือเป็นตกเป็นฝ่ายตามแค่ไหน ด้วยฝีมือและความพยายาม
คุณสามารถที่จะเอาชนะผู้ที่เหมือนจะมีโอกาสมากกว่าได้
ภาคนี้สอนให้รู้ว่า "โอกาส ถึงแม้จะมีน้อยนิด แต่มันก็มี"
ภาค 2
บทที่ 7 ก้าวเข้าสู่ดินแดนแห่งสถิติ ชอบคำอธิบายความแตกต่างระหว่าง
"ความน่าจะเป็น" และ "สถิติ" ว่า
"ความน่าจะเป็น" คือการพยากรณ์บนรากฐานของความเป็นไปได้คงที่
"สถิติ" คือการสรุปผลความเป็นไปได้จากข้อมูลที่สังเกตการณ์แล้ว
ผู้เขียนเป็นคนอธิบายเรื่องราวต่างๆ ได้ "เห็นภาพ" มาก
ไล่ตั้งแต่ต้นกำเนิดของการเก็บรวบรวม "ข้อมูล"
การทำบัญชี สถิติ แบบแผนของข้อมูลที่ค้นพบ
การสุ่ม และความคลาดเคลื่อนในการวัด
ไม่มีการวัดครั้งใดที่ไม่มีความคลาดเคลื่อน ถ้าคุณวัดซ้ำ !
กำเนิดโค้งปกติ แบบแผนที่พบได้ทั่วไปในธรรมชาติ (มันถึงถูกเรียกว่า โค้งปกติ)
Central limit theorem การถดถอยเข้าสู่ส่วนกลาง
พร้อมยกตัวอย่างที่มีสีสัน เข้าใจง่าย เช่น ทำไมคนสวยมากๆ ถึงมีลูกสวยน้อยกว่า
หรือคนฉลาดเข้าขั้นอัจฉริยะ ไม่ควรคาดหวังว่าจะมีลูกเป็นอัจฉริยะยิ่งกว่าตัวเอง
ทำไมมนุษย์ถึงมีความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ขีดจำกัดบน 2 เมตร ฯลฯ
และกำเนิดค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (ที่ไม่ใช่ของเพียร์สัน) และผลงานการทดสอบไคสแควร์ ของเพียร์สัน 555
บทที่ 8-9 จะพาออกนอกเขตแดนคณิตศาสตร์มาเป็นการประยุกต์ใช้ในศาสตร์ต่างๆ ทั้งจิตวิทยา สังคมศาสตร์ ธรรมชาติวิทยา ฯลฯ ... แบบแผนชุลมุนหรือ Chaos Theory ส่งผลกระทบกับพวกเราอย่างไรและ butterfly effect คือ?
บทที่ 9 มายาในรูปแบบ ว่าด้วย "illusion" (ชอบคำนี้มากกว่าคำไทย) ... คนเราหลอกตัวเองอย่างเป็นระะบบเสมอ lol โดยหาหลักฐานต่างๆ มาสนับสนุนข้อสรุปของตัวเอง การทดสอบนัยสำคัญทางสถิติเกี่ยวข้องและช่วยลดอคติของมนุษย์ ณ จุดนี้ อย่างไร?
บทที่ 10 เป็นบทจบ "วิถีขี้เมา" ซึ่งกระทบกระเทียบคนเราเล็กๆ ว่า...ทำไมคนเรามักจะมารู้สึก "อ๋อ" เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว... ทำไมเราทำนายอดีตได้ดีกว่าอนาคต และมันควรแล้วหรือที่เราจะเอาความสำเร็จในอดีตมาตัดสินอนาคต? ทำไมคนที่ประสบความสำเร็จถึงประสบความสำเร็จ? ทำไมหลายๆ เหตุการณ์ช่างประจวบเหมาะนัก?
น่าสนุกใช่ม้าาา ยืมอ่านได้นะคะ ^_^
No comments:
Post a Comment